วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

24 กันยายน วันมหิดล

24 กันยายน วันมหิดล
 
ความหมาย
            24 กันยายน วันมหิดล เป็น วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระราชชนกที่ทรงมีคุณูปการต่อการแพทย์สมัยใหม่ของไทย
 
ความเป็นมา
            สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434 และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472 มีพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ในเบื้องต้น ได้ทรงศึกษาวิชาทหารเรือ ณ ประเทศเยอรมนี จากนั้นเสด็จกลับมารับราชการทหารเรือ ต่อมาทรงมีอาการประชวรเรื้อรัง ไม่สามารถรับราชการหนักได้ ประกอบกับทรงสนพระทัยในกิจการทางด้านการแพทย์ จึงทรงอุตสาหะเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุข และวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทย์ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หลังจากเสด็จกลับมาเมืองไทย พระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมากมาย
ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผู้ที่เคยได้รับพระกรุณาในด้านต่างๆ จากพระองค์ จึงได้รวบรวมเงินจัดสร้างพระรูปประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้างมีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2493 และในวันที่ 24 กันยายนปีเดียวกันนี้เอง นักศึกษาแพทย์ได้ริเริ่มจัดงานขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ โดยมีพิธีวางพวงมาลา ถวายบังคมพระรูป อ่านคำสดุดีพระเกียรติเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และทางคณะแพทย์ศาสตร์ และศิริราชพยาบาล ได้มีความเห็นพร้อมต้องกันว่าให้ยึดถือเอาวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันที่น้อมรำลึกถึงพระองค์โดยให้ชื่อว่า วันมหิดล และงานวันมหิดลได้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในวันที่ 24 กันยายน 2494 โดยจัดให้มีพิธีสงฆ์ ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้า และการนำพวงมาลาไปสักการะที่พระรูป
 
พระราชกรณียกิจมากมายที่พระองค์ได้ทรงประกอบไว้มีดังนี้
1. ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์
2. ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช
3. ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และจัดสร้างตึกคนไข้ และจัดหาที่พักสำหรับพยาบาลให้ได้อยู่อาศัย
4. ทรงบริจาคทรัพย์เป็นทุนสำหรับส่งนักศึกษาแพทย์ และนักเรียนพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ
5. ประทานเงินเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือ สำหรับปฏิบัติการให้แก่โรงพยาบาล
6. ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลติดต่อกับมูลนิธิรอคกีเฟลเลอร์ สาขาเอเซียบูรพา ในการปรับปรุง และวางมาตรฐานการศึกษา
7. ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง

วัตถุประสงค์โดยสรุป
1. เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฏแก่ มวลสมาชิกทั่วโลก
 2. เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง     ร่วมกับ ประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่อมเชิดชูเกียรติ ในการนี้ รัฐบาลไทย     โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเพื่อให้ยูเนสโก ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศ ยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535
 

 
ที่มา : ศิริวรรณ คุ้มโห้ ; วันและประเพณีสำคัญ , บริษัท สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด, กทม. 245 น.
ธวัชชัย  พืชผลวันสำคัญของไทย. บริษัท สารสาร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, กทม.(หน้า 67-69).

20 กันยายน วันเยาวชนแห่งชาติ


        ประวัติความเป็นมา
        วันเยาวชนแห่งชาติได้เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2528 หลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2528 เป็นปีเยาวชนสากล ดังนั้น เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติกำหนดให้วันที่ 20 กันยายน ของทุกปีเป็นวันเยาวชนแห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพใน
         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396
        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468
และพระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ได้ขึ้นครองราชสมบัติขณะยังทรงพระเยาว์
        นอกจากนี้ยังได้มีการส่งเสริมให้เยาวชนที่กระจายกันทั่วประเทศ ได้ตระหนักว่าเยาวชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชาติให้มีความมั่นคงและเจริญรุ่งเรือง โดยเริ่มจากการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีค่านิยมที่ถูกต้อง ภูมิใจและหวงแหนและอนุรักษ์ไว้ซึ่งความเป็นไทย อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย รู้จักการอดออมและประหยัดรวมทั้งการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
        นอกจากหน่วยงานของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชนก็มีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้เยาวชนของชาติเป็นทรัพยากรบุคคลมีคุณภาพ และสถาบันทีมีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการพัฒนา คือ สถาบันครอบครัว ซึ่งหากผู้ปกครองมีความเข้าใจ เอาใจใส่ ดูแล ทนุถนอม ให้ความรักความอบอุ่นแก่เยาวชนที่อยู่ในความปกครองอย่างถูกต้องแล้ว ก็จะมีส่วนเป็นอย่างมากในการที่จะนำพาเยาวชนให้เป็นบุคคลที่มีทั้งคุณภาพและคุณธรรม ซึ่งจะพาประเทศชาติให้เจริญรุงเรืองต่อไปในภายภาคหน้า


        เป้าหมายของวันสำคัญมี 3 ประการ คือ
        1. เพื่อให้เยาวชนช่วงอายุ 15 - 25 ปี ได้ตระหนักนึกความสำคัญในการพัฒนาตนเอง พัฒนาชุมชน พัฒนาประเทศ
        2. เพื่อให้ประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อประเทศชาติทั้งในด้านคุณภาพคุณธรรม
        3. เพื่อให้นโยบายส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง สัมฤทธิ์ผล

        กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเยาวชนแห่งชาติ 
        1. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ความสำคัญ หน้าที่ ของเยาวชนเพื่อให้เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักและเข้าใจ
        2. ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กิจกรรมสาธารณประโยชน์กิจการเพื่อการกุศล กิจกรรมในชุมชน ฯลฯ



   แหล่งอ้างอิง 1. ธนากิต. วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
                      2. วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2528.

16กันยายน วันโอโซนโลก

ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้นโอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซนขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอลทรีออล"
สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมายถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น ชนิด
ซึ่งสารเหล่านี้มีการใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่นสารทำความเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ใช้เป็นก๊าซสำหรับ เป่าโฟมและเป็นฉนวนในโฟม รวมทั้งใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความ สะอาดล้างคราบไขมันสิ่งสกปรกในชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์หรือแม้แต่สารที่ อยู่ในกระป๋องสเปรย์  ส่วนสารฮาลอนใช้เป็นสารดับเพลิง ในอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย  ซึ่งการใช้สาร CFC ก็มีมากในการอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมยิ่งพัฒนา ก็จะมีการทำลายโอโซนกันมากเท่านั้น
เกราะป้องกันของโลกตัวนี้ชื่อว่า โอโซน (OZONE) โอโซนเกิดจากธรรมชาติ เกิดจากออกซิเจน อะตอม มีหน้าที่ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตและ รังสีคอสมิกผ่านมายังโลก เพื่อไม่ให้มวลมนุษย์และสัตว์บนโลกเกิดอันตรายในการดำรงชีวิต เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต สามารถทำลายเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ โดยปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตที่กระทบผิวหนังมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังขึ้นได้ หรือ อาจมีผลในเรื่องอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันเนื่องจากชั้นโอโซนเกิดช่องโหว่นั่นเอง
"โอโซนมีคุณสมบัติที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ทุกชนิด รวมทั้งคุณสมบัติในการ ชำระล้างสารพิษที่ตกค้างต่างๆ นอกจากนี้โอโซนยังสามารถแก้ไขปัญหาน้ำเสียได้ โดยการนำโอโซนผสมกับน้ำ ทำให้แบคทีเรียในน้ำถูกโอโซนทำลาย เหลือแต่น้ำบริสุทธิ์ มาทำน้ำดื่มหรือ ใช้อาบก็ดี
จากสาเหตุดังกล่าวจึงทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็น วันโอโซนโลก เริ่มตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_09_16.htm
http://www.hunsa.com/variety/new16.shtml
http://www.thai.net/smileman/wonosone.htm
http://www.admin.rtaf.mi.th/Datamaintodayinhistory/sep.htm

1กันยายนของทุกๆปีเป็นวัน สืบ น่คะเถียร

วันสืบ นาคะเสถียร วันที่ 1 กันยายน ของทุกปี


สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัด อุทัยธานี แลกชีวิตของตนเองเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533
เพื่อ ปลุกจิตสำนึกของคนในสังคมให้ตื่นขึ้น ให้รับทราบความเป็นไปของสถานการณ์ป่าไม้ และ สัตว์ป่าเมืองไทย คุณสืบ ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความมุ่งมั่นจริงจังใน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ภายหลังการเสียชีวิตของคุณสืบ 18 วัน มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ได้รับการก่อตั้งขึ้นเมื่อ ?วันที่ 18 กันยายน 2533? วันเดียวกับการครบรอบ 94 ปีของกรมป่าไม้ หน่วยงานต้นสังกัดของนักอนุรักษ์นี้
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้ กำหนดขอบข่ายและทิศทางการทำงานไว้ 5 ประการ คือ
  1. การสนับสนุนการจัดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร ตลอดจนผืนป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ
  2. การปรับปรุงสวัสดิการเพื่อการเสริมสร้างขวัญ และกำลังใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
  3. งานรณรงค์ป้องกันรักษาผืนป่าอนุรักษ์และทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้การรณรงค์แนวความคิด "ไม่มีป่า ไม่มีน้ำ"
  4. งานประชาสัมพันธ์และปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม เพื่อขยายแนวร่วม และเผยแพร่งานอนุรักษ์ส่วนกว้าง
  5. งานส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยสัตว์ป่า โดยจัดตั้งกองทุนสัตว์ป่าขึ้น
ประวัติ
สืบ นาคะเสถียรหรือนามเดิมชื่อ"สืบยศ" เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2492 ที่ตำบลท่างาม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี บิดาชื่อ นายสลับ นาคะเสถียร เคยดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปราจีนบุรี  มารดาชื่อ นางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร สืบ นาคะเสถียรมีพี่น้องทั้งหมด 3 คน โดยสืบ นาคะเสถียร เป็นบุตรชายคนโต น้องชายและน้องสาวอีก 2 คนคือคุณกอบกิจ นาคะเสถียรและคุณกัลยา รักษาสิริกุล  คุณสืบมีบุตรสาว 1 คน ชื่อชินรัตน์ นาคะเสถียร ในวัยเด็ก สืบ นาคะเสถียร ได้ช่วยงานในนาของมารดา ทำงานอยู่กลางแจ้งทั้งวันโดยไม่ปริปากบ่น บุคลิกประจำตัว คือเมื่อเขาสนใจหรือตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะมีความมุ่งมั่น ตั้งใจทำอย่างจริงจังจนประสบความสำเร็จ  ครั้นเรียนจบชั้นประถม 4 ต้องจากครอบครัวไปเรียนอยู่ที่ โรงเรียนเซนหลุยส์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จนกระทั่งเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
พ.ศ.2511 เข้าศึกษาในคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สืบมีความตั้งใจในการศึกษาอย่างเต็มประสิทธิภาพและเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต โดยเป็นที่ทราบกันดีระหว่างผู้ใกล้ชิดว่า สืบ นาคะเสถียร เป็นผู้มีใจรักศิลปะ และสูงส่งในเชิงมนุษยสัมพันธ์ มีระเบียบในการดำเนินชีวิต
ในสมัยเรียนอย่างมีแบบแผน พ.ศ.2514 จบการศึกษาจาก คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมา พ.ศ.2516 สืบ นาคะเสถียร
เข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะของการเคหะแห่งชาติ
พ.ศ.2517 สืบเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท สาขาวิชาวนวัฒน์วิทยา ที่คณะวนศาสตร์ มหาลัยเกษตรศาสตร์ จนสำเร็จการศึกษา  
และ ในปีพ.ศ.2518 ได้เริ่มชีวิตข้าราชการ โดยบรรจุเข้ารับราชการ ตำแหน่งพนักงานป่าไม้ตรี กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และเริ่มชีวิตข้าราชการกรมป่าไม้
เมื่อปี พ.ศ.2518 ใน กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงานเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น เขาตัดสินเลือกกองนี้เพราะต้องการทำงาน เกี่ยวกับสัตว์ป่ามากกว่างานที่เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ ป่าไม้โดยตรง สืบ เริ่มงานครั้งแรกที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาเขียว-เขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี ได้ผลักดันให้สืบ ต้องเข้าไปทำหน้าที่ผู้รักษากฎหมาย อย่างเลี่ยงไม่พ้น ที่นั่นเขาได้จับกุม ผู้บุกรุกทำลายป่าโดยไม่เกรงอิทธิพลใดๆ ผู้ต้องหาล้วนได้รับการปฏิบัติอย่างสุภาพนิ่มนวล และที่นี่ สืบเริ่มเรียนรู้ว่า การเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่ซื่อสัตย์ นั้นเจ็บปวดเพียงไหน
สืบ ทำงาน อยู่ 3-4 ปี ในปี พ.ศ.2522 สืบก็ได้รับทุนจาก British Council ไปเรียนระดับปริญญาโท สาขาอนุรักษ์วิทยาที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ จากนั้น พ.ศ.2524 กลับมารับตำแหน่งหัวหน้าเขต ห้ามล่าสัตว์ป่า บางพระ มีส่วนร่วมในการจัดการและประสานงาน รวมทั้งเป็นวิทยากร ฝึกอบรมพนักงาน พิทักษ์ป่าอีกหลายรุ่น
จนกระทั่ง พ.ศ.2526 สืบได้ขอย้ายตัวเอง เข้ามาเป็นนักวิชาการ กองอนุรักษ์สัตว์ป่า ทำหน้าที่วิจัยสัตว์ป่าเพียงอย่างเดียว "ผมหันมาสนใจงานวิจัยมากกว่าที่จะวิ่งไปจับคน เพราะรู้ว่าจับได้แต่คนตัวเล็ก ๆ ตัวใหญ่ ๆ จับไม่ได้ก็เลย อึดอัดว่ากฎหมายบ้านเมืองนั้นมันใช้ไม่ได้กับทุกคน มันเหมือนกับว่าเราไม่ยุติธรรมเรารังแกชาวบ้าน"

ใน ระยะนี้ เป็นจังหวะที่สืบได้แสดงความเป็นนักวิชาการออกมาอย่างเต็มที่ งานวิจัยศึกษาสัตว์ป่าเป็นงานที่สืบ ทำได้ดีและมีความสุขในการทำงานวิชาการมาก สืบรักงานด้านนี้เป็นชีวิต จิตใจ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้ผูกพัน กับสัตว์ป่าอย่างจริงจัง เขาเริ่มใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้อง วีดีโอ กล้องถ่ายภาพนิ่งและการสเก็ตซ์ภาพ ในการบันทึกงานวิจัยทั้งหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้กลาย เป็นผลงานการวิจัยสัตว์ป่าชิ้นสำคัญของเมืองไทยในเวลาต่อมา
และใน เวลา ต่อมา พ.ศ.2529 สืบได้รับมอบหมาย ปฏิบัติงานในหน้าที่ หัวหน้าโครงการอพยพสัตว์ป่าตกค้าง ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนรัชชประภา (เชี่ยวหลาน)  จังหวัด สุราษฏร์ธานี ให้เข้าไปช่วยเหลืออพยพสัตว์ป่าที่ตกค้าง ในอ่างเก็บน้ำ ซึ่งเกิดจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบได้ทุ่มเทเวลาให้กับการกู้ชีวิตสัตว์ป่าที่หนีภัยน้ำท่วม โดยไม่ได้นึกถึง ความปลอดภัยของตนเองเลย จากการทำงานชิ้นดังกล่าวสืบ นาคะเสถียรเริ่มเข้าใจ ปัญหาทั้งหมดอย่างถ่องแท้ เขาตระหนักว่าลำพังงาน วิชาการเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่อาจหยุดยั้งกระแส การทำลาย ป่าและสัตว์ป่าอันเป็นปัญหา ระดับชาติได้ ดังนั้น เมื่อมีกรณี รัฐบาลจะสร้างเขื่อนน้ำโจน ในบริเวณทุ่งใหญ่ฯ สืบจึงโถมตัวเข้าคัดค้านเต็มที่
พ.ศ.2531 สืบได้กลับเข้ามารับราชการที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ และต่อมา พ.ศ.2532 สืบ นาคะเสถียร ได้เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
สืบ ได้พยายามในการที่จะเสนอให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และห้วยขาแข้งมีฐานะเป็นมรดกของโลก โดยได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการ จากองค์การ สหประชาชาติ สืบเล็งเห็นว่า ฐานะดังกล่าวจะเป็นหลักประกัน สำคัญที่คอยคุ้มครองป่าผืนนี้เอาไว้ อย่างถาวร ปลายปี พ.ศ. 2532 สืบได้รับทุน ไปเรียนต่อระดับปริญญาเอก ที่ประเทศอังกฤษ พร้อม ๆ กับได้รับมอบหมาย ให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีความสำคัญมากไม่แพ้ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ในที่สุด สืบ ก็ตัดสินใจเดินทางเข้ารับตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง แม้จะรู้ดีว่าหนทางข้างหน้าเต็มไปด้วย ความยากลำบากนานัปการ
เช้า มืดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533 สืบ นาคะเสถียร ตัดสินใจผ่าทางตันด้วยการสั่งเสียลูกน้อง คนสนิท และเขียนจดหมายสั่งลา 6 ฉบับ ชำระสะสางภาระ รับผิดชอบและทรัพย์สินส่วนตัวที่คั่งค้าง มอบหมาย เครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการศึกษาวิจัยด้านสัตว์ป่า ให้สถานีวิจัย สัตว์ป่าเขานางรำ เพื่อนำไปใช้ตาม วัตถุกระสงค์ดังกล่าว ตั้งศาลเพื่อแสดงความคารวะต่อ ดวงวิญญาณของเจ้าหน้าที่ ซึ่งพลีชีพรักษาป่าห้วยขาแข้ง แล้วสวดมนต์ไหว้พระ จนจิตใจสงบขณะที่ฟ้ามืดกำลัง เปิดม่านรับวันใหม่ เสียงปีนดังขึ้นนัดหนึ่งในราวป่าลึก ที่ห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร ก็ปิดม่านชีวิตของเขาลง และเป็นบทเริ่มต้น ตำนานนักอนุรักษ์ไทย สืบ นาคะเสถียร ผู้ที่รักป่าไม้ สัตว์ป่าและธรรมชาติ ด้วยกาย วาจา  และหลังจากนั้นอีกสองอาทิตย์ต่อมา ห่างจากบริเวณที่เกิดเสียงปืนดังขึ้นไม่กี่สิบเมตรบรรดาเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของกรมป่าไม้ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ นายอำเภอ ป่าไม้เขต และ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ อีกนับร้อยคน ต่างกุลีกุจอมาประชุมกันที่ห้วยขาแข้ง อย่างแข็งขัน เพื่อหามาตรการป้องกันการบุกรุก ทำลายป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สืบ นาคะเสถียร รอวันนี้มาตั้งแต่วันแรกที่เขามาดำรงตำแหน่ง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้แล้ว แต่หากไม่มีเสียงปืนนัดนั้น การประชุมดังกล่าวก็คงไม่เกิดขึ้นเช่นกัน...
ที่มา : มูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

18 สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ


18 สิงหาคม วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ


      กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กำหนดจัดกิจกรรมในโอกาสวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ.2556  โดยจะจัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี 2556″ ระหว่างวันที่ 6-21 สิงหาคม 2556 ณ BITEC บางนา



พบกับกิจกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกครั้ง
ทันโลกทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน
มหกรรมวันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2556 จัดพร้อมกัน 2 แห่ง

 ไบเทคบางนาลานหน้า เซ็นทรัลเวิร์ล 
6-21 สิงหาคม พ.ศ.2556 14-18 สิงหาคม พ.ศ.2556  


วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2555

ความเป็นมาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี ให้มีวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" วันวิทยาศาสตร์แห่งชาตินี้เป็นเพราะพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ ต่อไปมาศึกษาที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  



 

ที่มาของชื่อ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาติให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2556

รัชกาลที่ 4 กับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

           พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทยในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนาคือวิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดานไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง และถือเป็นเหตุของที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติอีกทางหนึ่ง 
  
ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง, วันวิทยาศาสตร์ 2554
 

ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวง 

ดาราศาสตร์ไทยและวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

            ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลาพระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์ 
โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
  
โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ 

ทรงพิสูจน์ผลการคำนวนทางดาราศาสตร์-วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  

            ต่อมาใน วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวนของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 
ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง-ที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ  
            โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ ให้เจริญก้าวหน้า
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
ที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
          เหตุการณ์ดังกล่าว เซอร์แฮรี ออด ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ไว้ และเมื่อ พ.ศ.2518 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ทำการแปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้" 

            ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์  
สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554
สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
สถาปนาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
          ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็น วันวิทยาศาสตร์ ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"  พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ เนื่องในการสถาปนาวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

          ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึงบิดาแห่งวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของรัชกาลที่ 8
            เนื่องจากวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่ หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๐๓ พระราชทานนามว่า "หอชัชวาลเวียงชัย" ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ
ดาวหางฟลูกเกอร์กูส วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฏมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า " ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" แจ้งแก่ประชาชน" 
ดาวหางโดนาติ วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
ดาวหางโดนาติ ( Donati a Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ 2401 และคืนต่อๆมา จนถึงวันที่ 4มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา ๙ เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401 ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่างๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า"ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า "ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่างๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิ ได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล"
นิทรรศการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
นิทรรศการวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ดาวหางเทพบุท วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet ) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์ มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์
        นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อจัดงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ จนได้รับความสนใจเข้าร่วมงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาตินี้ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เพราะมีเหตุมาจากวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นประจำทุกปี ระหว่าง วันที่ 18 - 24 สิงหาคม
ร่วมกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
ร่วมกิจกรรมในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ความหมายของคำศัพท์ในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
    วิทยาศาสตร์ หมายถึง
        วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
        การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ

ภาพกิจกรรมเนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 

กิจกรรมวันงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2554
กิจกรรมวันงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
ร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ2554 กันดารานักแสดง
ร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติกันดารานักแสดง
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2556
1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็น"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
3. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
4. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
        ในงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2555 ได้มีการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย เช่น นิทรรศการ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอภิปรายทางวิชาการ การตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การประกวดการแข่งขันต่าง ๆ เช่น โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ก็ล้วนถูกนำมาแสดงในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติทั้งสิ้น
        ในการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 2555 ได้มีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดี เด่นในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยจะทำพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ นับได้ว่ามีส่วนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนคนไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ


    2532 พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2533 เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2534 ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย

   2536 วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

    2537 ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2538 เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง

    2539 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า

    2540 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2541 พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย

    2542 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น

    2543 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2544 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย

    2545 เหมือนกับช่วงปี 2544

    2546 เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

    2547 เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ

    2548 วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ

    2549 เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    2550 วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม

    2551 วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต

    2552 วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า

    2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

    2554 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

    2555 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์
 


ขอบคุณที่มา:http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันแม่แห่งชาติ (12 สิงหาคม) วันแม่แห่งชาติ 2556

วันแม่แห่งชาติ (12 สิงหาคม) วันแม่แห่งชาติ 2556






 

กลอนวันแม่ พระคุณแม่


พระคุณแม่ ยิ่งใหญ่ เหนือไพศาล
อนุบาล ลูกน้อย คอยห่วงหา
ลูกซาบซึ้ง พระคุณ ในวิญญา
จะตั้งหน้า ตอบแทน พระคุณเอ


สัญลักษณ์วันแม่ดอกมะลิ

ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก คนไทยถือเป็นดอกไม้มงคล นิยมเอาดอกมะลิมาร้อยเป็นมาลัยเพื่อบูชาพระ และดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลายมะลิ นอกจากนี้ มะลิดอกแห้งก็ยังสามารถใช้ปรุงเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้เป็นอย่างดี
"ดอกมะลิ" จึงกลายสัญลักษณ์หนึ่งที่มาพร้อมกับเทศกาล "วันแม่" ซึ่งเป็นวันที่บรรดาลูกให้ความสำคัญกับผู้ที่ให้กำเนิดเป็นพิเศษ ^^
วันแม่แห่งชาติปี 2556 นี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2556 และเป็นปีมหามงคลยิ่งเนื่องจากสมเด็จพระบรมราชินีนารถ ทรงมีพระชนมายุครบ 81 พรรษา

ร่วมลงนามถวายพระพร เนื่องในวโรกาสมหามงคล 81 พรรษาราชินี

วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า วันแม่ ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย
 แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
วันแม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า “ดอกมะลิ” สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
  1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
  2. ?จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
  3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
  4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

วันแม่ในประเทศต่าง ๆ
  • อาทิตย์ที่สองของเดือนกุมภาพันธ์  วันแม่แห่งชาติ ประเทศ นอร์เวย์
  • 8 มีนาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ บัลแกเรีย, แอลเบเนีย
  • อาทิตย์ที่สี่ในฤดูถือบวชเล็นท์ (มาเทอริง ซันเ ดย์)   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ สหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์
  • 21 มีนาคม (วันแรกของฤดูใบไม้ผลิ)    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ จอร์แดน, ซีเรีย, เลบานอน, อียิปต์
  • อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ โปรตุเกส, ลิทัวเนีย, สเปน, แอฟริกาใต้, ฮังการี
  • 8 พฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  เกาหลีใต้ (วันผู้ปกครอง)
  • 10 พฤษภาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้, บาห์เรน, ปากีสถาน, มาเลเซีย, เม็กซิโก, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อินเดีย, โอมาน
  • อาทิตย์ที่สองของเดือนพฤษภาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  แคนาดา, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สาธารณรัฐประชาชนจีน, ญี่ปุ่น, เดนมาร์ก, ตุรกี, นิวซีแลนด์, เนเธอร์แลนด์, บราซิล, เบลเยียม, เปรู, ฟินแลนด์, มอลตา, เยอรมนี, ลัตเวีย, สโลวาเกีย, สิงคโปร์, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ออสเตรีย, อิตาลี, เอสโตเนีย, ฮ่องกง
  • 26 พฤษภาคม     วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  โปแลนด์
  • 27 พฤษภาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ โบลิเวีย
    อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม  สาธารณรัฐโดมินิกัน, สวีเดน
    อาทิตย์แรกของเดือนมิถุนายนหรือ อาทิตย์ที่สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม ฝรั่งเศส
  • 12 สิงหาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  ไทย (วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ)
  • 15 สิงหาคม (วันอัสสัมชัญ)   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  คอสตาริกา, แอนท์เวิร์ป (เบลเยียม)
    อาทิตย์ที่สองหรือสามของเดือนตุลาคม อาร์เจนตินา (D?a de la Madre)
  • 28 พฤศจิกายน   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ รัสเซีย
  • 8 ธันวาคม    วันแม่แห่งชาติ ประเทศ ปานามา
  • 22 ธันวาคม   วันแม่แห่งชาติ ประเทศ  อินโดนีเซีย
แหล่งอ้างอิง :
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สมเจตน์ มุทิตากุล
หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดยธนากิต
หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์












วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่22 กรกฎาคม ขึ้น15ค่ำ เดือน8

ธรรมจักกัปปวัตนสูต

          สำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน คงทราบกันดีกว่า ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่ง ในปี 2556 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 22 กรกฎาคม (ขึ้น 15 คํ่า เดือน 8) และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 23 กรกฎาคม (แรม 1 คํ่า เดือน 8) แต่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบความเป็นมาเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชาเท่าใดนัก ดังนั้นวันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับวันอาสาฬหบูชามาฝากกันค่ะ

          ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8

          วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่า วันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
          ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า  "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปล ว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

          สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ 
    1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

           การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค

           การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

          ดัง นั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่     
           1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

           2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

           3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

           4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

           5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

           6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

           7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

           8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

    2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่    
           1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
  
           2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
  
           3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา

           4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น


กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา

           พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา
ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบ ตัวสูงขึ้นอย่างนี้...
 ขอขอบคุณข้อมูลจาก
 
- dhammathai.org
- คลังปัญญาไทย