ประวัติ ความเชื่อ เวลาและโอกาส ประเพณีปฏิบัติ ประเพณีสังวร กิจกรรมในวันสารทไทย ผลที่ได้จากประเพณี |
วันสารทไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นเทศกาลทำบุญเดือน 10 ของไทย ซึ่งเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณตามหลักฐานพบว่ามีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี |
สารทเป็นคำที่มาจากภาษาอินเดีย แปลว่า ฤดู ซึ่งฤดูสารทนี้เป็นฤดูที่ต้นไม้เริ่มออกผล เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยผู้ที่ต้องการให้พืชพันธุ์ธัญญาหารของตนเจริญงอกงามดี ก็ได้นำพืชพันธุ์เหล่านั้นไปถวายสิ่งที่ตนนับถือ ซึ่งประเทศต่างๆ นั้นก็นิยมทำเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ย เช่น ในประเทศจีน เมื่อมีการเก็บเกี่ยวผลิตผลในครั้งแรกนั้นประเพณีนิยมที่ต้องนำผลไม้ที่เก็บเกี่ยวในครั้งแรกนี้ ถวายสักการะแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชา ทั้งนี้เพื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้นจะได้ดลบันดาลให้พืชผลเจริญงอกงามดี แม้แต่ในประเทศแถบตอนเหนือของยุโรป ก็มีหลักฐานปรากฏว่ามีการนำพืชพันธุ์ธัญญาหารไปถวาย เพื่อให้ผลิตผลอุดมสมบูรณ์เช่นกัน ส่วนในประเทศไทยประเพณีการทำบุญวันสารทเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือของนางนพมาศ เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีนี้มาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย ดังที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือนซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "เมื่อพราหมณ์มีสืบเนื่องกันมาช้านนานหลายพันปีเช่นนี้ จึงเป็นที่นับถือของคนทั้งปวง ในหนังสือต่าง ๆ ซึ่งชนที่นับถือพระพุทฐศาสนาแต่ง ที่สุดจนธัมมจักกับปปวัตนสูตรเป็นต้น ซึ่งอ้างว่าเป็นพุทธภาษิตแท้ก็ยังเรียกสมณะกับพราหมณ์เป็นคู่กัน พราหมณ์เป็นที่นับถือไม่มีผู้ใดอาจหมิน่ประมาท ถ้าพราหมณ์เหมือนอย่างเช่นบ้านเราอย่างนี้แล้ว ก็เห็นจะไม่ยกขึ้นเป็นคู่กับสมณะ พราหมณ์เป็นที่นับถืออย่างเอกอย่างนับถือพระสงฆ์เช่นนี้ จึงได้เป็นสำหรับผู้ซึ่งปรารถนาความเจริญ คือ อยากจะให้ข้าวในนาบริบูรณ์จึงเอาข้าวที่กำลังทอ้งมาทำยาคูเลี้ยงพราหมณ์ และกวนข้าวปายาสเลี้ยงพราหมณ์.... ทำบุญสารท คือ ฤดูข้าวรวงเป็นน้ำนมนี้แก่พราหมณ์ เมื่อการพระราชพิธีของพราหมณ์ตกข้าวมาในแผ่นดินสยาม ก็พลอยประพฤติตามลัทธิพราหมาณ์ด้วย สมคำซึ่งนางนพมาศได้กล่าวไว้ว่า เป็ฤดูที่ชนทั้งปวงกวนข้าวปายาส และทำยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เมื่อสมณะพราหมณ์เป็นคู่กันเช่นนั้น ผู้ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาในชั้นแรกที่เข้ารึตใหม่เคยถือพราหมณ์เดิมได้ทำบุญตามฤดูกาลแก่พราหมณ์เดิมมาอย่างไร ครั้นเมื่อมาเข้ารึตถือพุทธศาสนาแล้ว เมื่อถึงกำหนดที่ตัวเคยทำบุญ ผู้ใดละเลยจะนิ่งเสียไม่ทำ เมื่อเชื่อว่าพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญอันวิเศษยิ่งขึ้นไปกว่าพราหมณ์ ก็ต้องมาถวายพระสงฆ์เหมือนเช่นเคยทำอยู่แก่พราหมณ์ ถ้าผู้ใดจละทิ้งศาสนาพราหมาณ์เดิมของตัวให้ขาดไม่ได้ เพราะความเกรงใจก็ลงเป็นทำทั้งสองฝ่าย ถวายทานแก่สมณะด้วยพราหมณ์ด้วย....." ทำบุญสารทมิได้มีปรากฏแต่ในศาสนาพราหมณ์เท่านั้น การทำบุญสารทเพื่อให้เกิดสิริมงคแก่พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ในศาสนาพุทธนั้นก็มีปรากฏในหนังสือพระธรรมบทเล่มหนึ่งพอสรุปใจความได้ดังนี้ เมื่อพระพุทธวิปัสสี่ ได้เกิดขึ้นในโลก มีพี่น้องสองคนชื่อ มหากาลเป็นพี่ และจุลกาลเป็นน้องทำการเกษตรกรรมร่วมกันปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย เห็นว่าควรนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงนำความไปปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อน อีกทั้งก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แต่จุบกาลมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะนำข้าวไปถวายแด่พระภิกษุ มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น ๒ ส่วน ของตนส่วนหนึ่งและของจุลกาลส่วนหนึ่ง ซึ่งจะนำข้าวส่วนนั้นไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่านำเมล็ดข้าวต้มกับน้านมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปราถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า "ด้วยศัพภสลีทานนี้จงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าบรรลุธรรมวิเศษก่อนชนทั้งปวง" เมื่อจุลกาลเสร็จธุระจากการถวายภัตตาหารแด่ภิกษุจึงกลับไปดูนาของตนก็พบว่าข้าวสาลีในนานั้นมีความเจริญงอกงามสมบูรณ์เป็นอย่างมากต่อมาเมื่อข้าวสาลีเจริญขึ้นจนเป็นข้าวเม่า จุลกาลก็นำไปถวายพระสงฆ์อีก และได้ทำต่อมาอีกหลายครั้ง คื อเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อทำเขน็ด เมื่อทำฟ่อน เมื่อขนไว้ในลาน เมื่อนวดข้าว เมื่อรวมเมล็ดข้าว เมื่อขนขึ้นฉาง รวมทั้งหมด ๙ ครั้งแต่ข้าวในนาของจุลกาลกลับอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นมิได้ขาดหายไป ต่อมาจุลกาลได้มาเกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยผลบุญห่งการถวายข้าวแด่พระสงฆ์ ท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นบุคคลแรกที่สำเร็จมรรคผลบรรลุธรรมวิเศษก่อนคนทั้งปวงตามที่ได้ปรารถนาไว้ในแต่ชาติจุลกาล การทำบุญสารทนั้นมิได้สำคัญว่ามาจากศาสนาใด เพียงแต่เป็นการทำบุญเพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อให้พืขพันธุ์มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไป อีกทั้งการทำบุญมิใช่เรื่องเสียหายหรือแปลกประหลาดแต่ประการใด ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงนิยมทำบุญทำทานอยู่เป็นนิจ มิได้ถือวันใดเป็นพิเศษ แต่การทำบุญสารทนั้นด้วยเหตุว่าเป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยว จึงถือโอกาสทำบุญทำทานให้เป็นของขวัญแก่ไร่นาของตนเท่านั้น ต่อมาประเพณีสารทได้เปลี่ยนความเชื่อถือไปตามกาลเวลาและความเชื่อตามท้องถิ่นของตน บางแห่งเชื่อว่าเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บางแห่งก็เป็นประเพณีการทำบุญเนื่องจากว่างจากภารกิจไร่นาจึงถือโอกาสทำบุญครั้งใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว เป็นต้น พิธีของประชาชนในประเพณีเกี่ยวกับการทำบุญเนื่องในวันสารท ไทย ซึ่งกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ดังกล่าว มาแล้วนั้นปรากฎว่า มีประเพณีทำบุญทำนองเดียวกันในภาคอื่น ๆ ด้วย หากแต่กำหนดวันและวิธีปฏิบัติอาจแตกต่างกันดังนี้ ภาคใต้ มีประเพณีทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ปู่ย่าตายายญาติพี่น้องและ บุคคลอื่น ๆ ที่ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน ๑๐ เป็นสองวาระคือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ ครั้นหนึ่ง และวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ อีกครั้งหนึ่ง โดยถือคติว่า พ่อแม่ปู่ย่าตายายและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะ ผู้ที่ต้องตกนรกหรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติ ของตนในเมืองมนุษย์ได้ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และกลับไปสู่นรก ดังเดิม ในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ดังนั้น จึงมีการทำบุญในสองวาระ ดังกล่าวนี้ แต่ส่วนใหญ่ทำวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เพราะมีความสำคัญ มากกว่า (บางท้องถิ่นทำในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐) การทำบุญของชาวไทยภาคใต้ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกเป็น ๔ อย่างคือ ๑. ประเพณีทำบุญเดือนสิบ โดยกำหนดเอาเดือนทำบุญเป็นหลัก ๒. ประเพณีทำบุญวันสารท โดยถือหลักของการทำบุญที่มีความ สัมพันธ์กับอินเดีย เหมือนวันสารทไทยของคนไทยในภาคกลาง ดังกล่าวมาแล้ว บางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีทำบุญสารทหรือเดือนสิบ ๓. ประเพณีจัดห.ม.รับ (สำรับ) การยกห.ม.รับ และการชิงเปรต คำว่า จัดห.ม.รับ ได้แก่ การจัดเสบียงอาหารเป็นสำรับถวายพระภิกษุ โดยให้พระภิกษุจับสลากแล้วให้ศิษย์เก็บไว้ แล้วนำถวายพระภิกษุเป็น มื้อ ๆ การยก ห.ม.รับที่จัดเรียบร้อยแล้วไปวัดพร้อมทั้งภัตตาหารไปถวาย พระภิกษุในช่วงเวลาเช้าก่อนเพล จะจัดเป็นขบวนแห่ใหญ่โตก็ได้ บาง แห่งแต่งตัวเป็นเปรตเข้าร่วมไปในขบวนด้วย ส่วนชิงเปรตหรือตั้งเปรต นั้น |
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการทำบุญ กล่าวคือ เมื่อจัดห.ม.รับ ยก ห.ม.รับไปถวายพระภิกษุแล้วจะเอาอาหารที่จัดไว้ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่ง ต่างหากไปจัดตั้งไว้ให้เปรต โดยมากเป็นอาหารที่ผู้ล่วงลับไปแล้วชอบ ในสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือขนม ๕ อย่าง คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมกง ขนมดีซำ และขนมบ้า สถานที่ตั้งอาหาร เป็นร้านสูง พอสมควร เรียกว่า ร้านเปรตหรือหลา (ศาลา) เปรต มีสายสิญจน์วงรอบ โดยให้ปลายสายสิญจน์อีกข้างหนึ่งโยงมาสำหรับพระภิกษุชักบังสุกุล ซึ่งชาวบ้านจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ พบเก็บสายสิญจน์แล้ว ก็จะมีการแย่งอาหารและขนมที่ตั้งเปรตไว้นั้นอย่างสนุกสนานเรียกว่า ชิงเปรต แล้วนำมากิน ถือว่าได้กุศลแรงและเป็นสิริมงคล การทำบุญด้วย วิธีตั้งเปรตและชักบังสุกุลอุทิศส่วนกุศลนี้ บางครั้งเรียกว่า การฉลอง ห.ม.รับและบังสุกุล ถือว่าสำคัญเพราะถือว่าเป็นวันส่งญาติผู้ล่วงลับไป แล้วด้วย ๔. ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย โดยถือคติ ว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และกลับนรกตามเดิมในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ แต่มีบางแห่งถือว่า ญาติที่ล่วงลับ | |
ไปแล้ว เหล่านี้เป็นตายาย เมื่อท่านมาก็ทำบุญรับ เมื่อท่าน กลับก็ส่งกลับ จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า ทำบุญตายาย ของทำบุญก็ เหมือนกับที่กล่าวไว้ในข้อ ๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาค อีสาน มีประเพณีการทำบุญในเดือน ๑๐ เหมือนกัน คือ ทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ แต่แบ่งระยะเวลาของประเพณีการทำบุญออกไปเป็น ๒ ระยะ ดังนี้ ระยะแรก ก่อนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ชาวบ้านจะเตรียม ข้าวเม่าพอง และข้าวตอก (บางแห่งเรียกดอกแตก) ขนมและอาหาร หวานคาวอื่น ๆ เพื่อจะทำบุญในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ มาถึงโดย เฉพาะ ข้าวเม่าพอง กับข้าวตอกนั้น จะคลุกให้เข้ากันแล้วใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่วงา มะพร้าวให้เป็นข้าวสาก ซึ่งตรงกับคนไทยภาคกลาง เรียกว่า กระยาสารท เมื่อเตรียมของทำบุญไว้เรียบร้อย ก็จะเอาข้าว ปลาอาหารไปส่งญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ถ้าหากบุคคลเหล่านั้นอยู่ห่างไกล ก็จะไปค้างคืน นอกจากมอบของแล้วจะถือโอกาสเยี่ยมเยียนถามทุกข์ สุขเป็นประเพณีที่เรียกว่า ส่งเขาส่งเรา ผลัดกันไปผลัดกันมา เป็นการ แลกเปลี่ยนกัน ส่วนข้าวสารหรือกระยาสารทนั้น จะส่งก่อนวันทำบุญหรือใน วันทำบุญก็ได้ เรียกว่า ส่งข้าวสาก ระยะที่สอง คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เวลาเช้าชาวบ้านไป ทำบุญตักบาตรที่วัด อุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ อาจมีบางคนอยู่วัดรักษาศีล ฟังเทศน์ก็ได้ ครั้นถึงเวลาใกล้เพล ก็เตรียม ภัตตาหารไปวัดอีกครั้งหนึ่ง มีห่อข้าวน้อย ห่อข้าวใหญ่ ข้าวสาก และ อาหารอื่น ๆ บางแห่งอาจจัดของที่จะถวายเป็นกัณฑ์เทศน์ไปด้วย เมื่อถึงวัดแล้ว ก็จะจัดภัตตาหารและของพี่จะถวายพระภิกษุ ถวายเสียก่อน บางแห่งนิยมทำเป็นสลาก ชาวบ้านคนไหนจับสลากถูก ชื่อพระภิกษุรูปใด ก็ถวายรูปนั้น ทำนองเดียวกับการทำบุญสลากภัต จึงเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจว่า การทำบุญข้าวสาก ก็คือทำบุญด้วยวิธี ถวายตามสลาก ส่วนห่อข้าวน้อย ห่อข้าวใหญ่ ชาวบ้านแจกกันเอง ห่อข้าวน้อย นั้น เมื่อแจกแล้วก็แก้ห่อออกกินกันในวัดทีเดียว ถือกันว่าเป็นการกินใน ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ส่วนห่อข้าวใหญ่เอากลับไปบ้าน เก็บไว้ ในเวลาต่อไป เพราะอาหารในห่อนั้นเป็นพวกของแห้ง เช่น ปลาแห้ง เนื้อแห้ง ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน ๆ ถือคติว่าเอาไปกินใน ปรโลก ประเพณีแจกห่อข้าวน้อยและห่อข่าวใหญ่นี้ ปัจจุบันเกือบไม่มี แล้ว จะจัดเพียงภัตตาหารไปถวายพระภิกษุพร้อมด้วยข้าวสากหรือ ถวายกระยาสารทเท่านั้น สำหรับข้าวสากที่จะนำไปแจกกันเหมือนกระยาสารทของคนไทย ภาคกลางนั้นวิธีห่อผิดกับทางภาคกลาง เพราะห่อด้วยใบตองกลัดด้วย ไม้กลัด หัวท้ายมีรูปลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่ตรงปลายทั้งสองข้าง ที่เรียกว่าสันตองไม่ต้องพับเข้ามา ของที่ใส่ในห่อ มีข้าวต้ม (ข้าว เหมือนแบบข้าวต้มผัด) ข้าวสาก แกงเนื้อ แกงปลา หมาก พลู บุหรี่ ห่อแล้วเย็บติดกันเป็นคู่ ๆ เอาไปห้อยไว้ตามต้นไม้ รั้วบ้าน เมื่อห้อยไว้ แล้วก็ตีกลองหรือโปง เป็นสัญญาณให้เปรตมาเอาไปและปล่อยทิ้งไว้ ชั่วพักหนึ่งกะเวลาที่เปรตได้มารับเอาอาหารที่ห้อยไว้นั้นไปแล้ว ชาวบ้าน ก็แย่งกันชุลมุน ใครแย่งเก่งก็ได้มากกว่าคนอื่น เรียกว่า แย่งเปรต ของที่แย่งเปรตไปได้นี้ ชาวบ้านจะเอาไปไว้ตามไร่นา เพื่อเลี้ยง ตาแฮก (ยักษินีหรือเทพารักษ์ รักษาไร่นาซึ่งเคยเลี้ยงมาเมื่อตอนเริ่ม ทำนาในเดือน ๖ มาครั้งหนึ่งแล้ว) นอกจากเลี้ยงตาแฮกแล้วก็เอาไปให้ เด็กรับประทาน เพราะถือว่าเด็กที่รับประทานแล้วจะอ้วนท้วนสมบูรณ์ ไม่เจ็๋บไข้ได้ป่วย | |
Top |
วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก |
การกำหนดทำบุญวันสารท มีความคลาดเคลื่อนกันบ้างในแต่ละท้องถิ่นของไทย เช่น | |
ภาคกลาง กำหนดในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 | |
ภาคใต้ กำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันรับตายาย และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันส่งตายาย | |
ชาวมอญ กำหนดวันขึ้น 15 ค่ ำ เดือน 11 | |
อย่างไรก็ตาม สารทไทยโดยทั่วไป ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เนื่องจากนับถัดจากวันสงกรานต์ ตามจันทรคติจนถึงวันสารทจะครบ 6 เดือน พอดี | |
Top |
ก่อนวันงาน ชาวบ้านจะทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท และขนมอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่น | |
ในวันงาน ชาวบ้ายจัดแจงนำข้าวปลา อาหาร และข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้าน | |
ทายก ทายิกา ไปถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล | |
นำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่นไปฝากซึ่งกันและกันยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกลหรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน | |
บางท้องถิ่นทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ |
วิธีปฏิบัติในการทำบุญวันสารทจะมีความแตกต่างกันออกไป แล้วแต่หมู่ชน และขนบธรรมเนียมประเพณีตามภูมิภาค ควรยอมรับว่าแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน และปฏิบัติตามแต่ละท้องถิ่นจะนิยม | |
การทำบุญวันสารท ควรถือเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติสนิทมิตรสหายทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมี ชีวิตอยู่เพราะเป็นช่วงที่ว่างจากการทำนาบ้างหรือไม่เร่งรัดเหมือนกับช่วงปักดำ หรือช่วงเก็บเกี่ยว | |
การไปวัดฟังธรรมในอดีต มักเป็นเรื่องของคนเฒ่าคนแก่เป็นส่วนใหญ่ในวันเช่นนี้ควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและคนหนุ่มสาว ไปวัดทำบุญและรักษาศีลให้มากขึ้น เพราะเป็นวัยที่ยังมีพลังที่จะเป็นหลักต่อไปในอนาคต และเป็นช่วงเวลาที่ไม่เร่งรัดงานมากนัก | |
พระสงฆ์ควรเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประเพณีวันสารทให้ประชาชนเข้าใจและรู้ซึ้งถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง | |
ควรส่งเสริมฟื้นฟูประเพณีวันสารท ให้มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทุกกลุ่ม เพื่อเป็นที่รู้จักและแพร่หลายต่อไป | |
Top |
ทำบุญตักบาตร วันสารทไทยเป็นประเพณีไทยที่แตกต่างจากประเพณีอื่น ๆ โดยเฉพาะในส่วนของการทำบุญตักบาตร ด้วยมีความเชื่อว่าการทำบุญวันสารทเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่ง ลับไปแล้ว การตักบาตรจึงมีลักษณะที่แตกต่างกันไปในลักษณะที่แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นนั้น ๆ การตักบาตรที่สำคัญในแต่ละท้องถิ่นได้แก่ | |
ตักบาตรขนมกระยาสารท ขนมกระยาสารทเป็นขนมประจำวันสารทในทุกท้องถิ่นของประเทศไทย ซึ่งจะขาดเสียมิได้ด้วยมีความเชื่อที่ว่า ถ้าไม่ได้ใส่บาตรขนมกระยาสารทในวันสารทไทยแล้ว ญาติผู้ล่วงลับก็จะไม่ได้ส่วนบุญส่วนกุศลที่กระทำในวันนั้น ขนมกระยาสารทมีส่วนประกอบ คือ ข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่ว งา และน้ำตาล นำทั้งหมดมากวนเข้าด้วยกัน เมื่อสุกแล้วจึงนำมาปั้นเป็นก้อนกลม หรือจะตัดเป็นแผ่นก็ได้ ตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นที่นิยมในบางท้องถิ่นเท่านั้น โดยส่วนใหญ่มักเป็นชาวไทยมอญที่นิยมตักบาตรน้ำผึ้งประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้งเนืองจากมีเรื่องเล่าตามพุทธประวัติว่า "ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษา ณ ป่าปาริไลยก์ เพียงพระองค์เดียว แต่มีผู้ถวายอุปัฏฐากเป็นช้างปาริเยยกะ เป็นผู้คอยถวายน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และลิงเป็นผู้หาผลไม้มาถวาย วันหนึ่งลิงได้นำน้ำผึ้งมาถวาย การถวายน้ำผึ้งจึงเป็นประเพณีปฏิบัติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา" | |
ฟังธรรมเทศนา | |
ถือศีลภาวนา | |
ปล่อยนกปล่อยปลา | |
Top |
เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนผู้มีพระคุณ | |
ได้แสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นกาผูกมิตรไมตรีกันไว้ | |
เป็นการแสดงความเคารพ และอปจายนธรรมแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ | |
เป็นการกระทำจิตใจของตนให้สะอาดหมดจดไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ขจัดความตระหนี่ได้ | |
เป็นการบำรุงหรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป | |
Top | |
[ สารทเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช ] | |
แหล่งข้อมูล : | สามารถ จันทร์สูรย์ และ กรรณี อัญชุลี ประเพณีไทยในปัจจุบัน กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรไทย , 2536 |
ศิริวรรณ คุ้มโห้ วันและประเพณีสำคัญ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์ จำกัด |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น